วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

ความเป็นมา ของทุกข์ของชาวนาในบทกวี


 ความเป็นมา
         ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓  ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ  รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ ๔๑  พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนาซึ่งมีสภาพชีวิตที่ไม่แตกต่างกันนัก
หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๑ หมวด ด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์เสียงพิณเสียงเลื่อน เสียงเอื้อนเสียงขับเรียงร้อยถ้อยดนตรีชวนคิดพิจิตรภาษานานาโวหารคำขานไพรัชสมบัติภูมิปัญญาธาราความคิดนิทิศบรรณาสาราจากใจ และมาลัยปกิณกะ
ในหมวด “ชวนคิดพิจิตรภาษา” เป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม ๔ เรื่อง คือ ภาษาไทยกับคนไทยการใช้สรรพนามวิจารณ์คำอธิบายเรื่องนามกิตก์ในไวยากรณ์บาลีและทุกข์ของชาวนาในบทกวี ซึ่งเป็นบทวิจารณ์ร้อยกรองที่จะนำมาศึกษาในบทเรียนนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น