วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘ มหาชาติหรือเวสสันดรชาดก

        มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับอ่านเพิ่มเติม



หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ มงคลสูตรคำฉันท์

       มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดี คำสอน ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากอ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

       บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ หัวใจชายหนุ่ม

       หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิตเมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ  อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ นิราศนรินทร์คำโคลง

     นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้อ่านเพิ่มเติม



หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ นิทานเวตาล เรื่องที่ ๑๐

      เวตาลกล่าวว่าครั้งนี้ข้าพเจ้าให้เกิดเขม่นตาซ้าย หัวใจเต้นแรงแลตาก็มืดมัว เป็นลางไม่ดีเสียแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็จะเล่าเรื่องจริงถวายอีกเรื่องหนึ่ง แลเพราะเหตุข้าพเจ้าเบื่อหน่ายการถูกอ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง

     อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องของบทละครลำ เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีทั้งกลอน ทั้งความ และทั้งกระบวนการที่ตะเล่นละครประกอบการ และยังเป็นหนังสือที่ดี ในทางที่ตะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ  แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าโครงมาจากนิทานพื้นเมืองของชาวชวา  อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ คำนมัสการคุณานุคุณ

คำนมัสการคุณานุคุณ
        เป็นผลงานการประพันธ์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกและสำนึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ยึดมั่นใน... อ่านเพิ่มเติม


วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

ประวัติผู้เเต่ง ของ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ประวัติผู้แต่ง
        ประวัติ: สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498   พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลย-เดชและ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
พระราชกรณียกิจ: ด้านดนตรีไทย - ทรงพระปรีชาสามารถในการขับร้องและบรรเลงดนตรีไทย
             ด้านภาษาและวรรณคดี - ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้องแก้ว ร้อยกรองและงานแปล งานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักกันแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร แก้วจอมซน เป็นต้น พระองค์ทรงใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น

และยังมีด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โครงการต่างๆอีกมากมาย

ความเป็นมา ของทุกข์ของชาวนาในบทกวี


 ความเป็นมา
         ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓  ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ  รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ ๔๑  พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนาซึ่งมีสภาพชีวิตที่ไม่แตกต่างกันนัก
หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๑ หมวด ด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์เสียงพิณเสียงเลื่อน เสียงเอื้อนเสียงขับเรียงร้อยถ้อยดนตรีชวนคิดพิจิตรภาษานานาโวหารคำขานไพรัชสมบัติภูมิปัญญาธาราความคิดนิทิศบรรณาสาราจากใจ และมาลัยปกิณกะ
ในหมวด “ชวนคิดพิจิตรภาษา” เป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม ๔ เรื่อง คือ ภาษาไทยกับคนไทยการใช้สรรพนามวิจารณ์คำอธิบายเรื่องนามกิตก์ในไวยากรณ์บาลีและทุกข์ของชาวนาในบทกวี ซึ่งเป็นบทวิจารณ์ร้อยกรองที่จะนำมาศึกษาในบทเรียนนี้


เนื้อเรื่อง ของ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

 ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
     เนื้อเรื่อง

          เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
          ต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทยทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีน  เมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่ามิได้มีความแตกต่างกัน  แม้ในฤดูกาลเพาะปลูก  ภูมิอากาศ   จะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือ ชาวนาเท่าที่ควร  ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ  ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร  ภูมิศักดิ์และ หลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอความทุกข์ยากของชาวนา  และทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกยุคทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกันเลย



ข้อคิดที่ได้รับ ของ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ข้อคิด
    1. ทำให้เข้าใจความรู้สึกของชาวนาที่ต้องประสบปัญหาต่างๆ
    2. ทำให้ได้รู้ถึงความทุกข์ยากความลำบากของชาวนาในการปลูกข้าว
   3. ทำให้ได้เห็นถึงคุณค่าของข้าวที่ได้รับประทานเป็นอาหารหลักในการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์
   4. ทำให้รู้ว่าชาวนาเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อประเทศ  เพราะว่าหากไม่มีชาวนาที่ปลูกข้าวแล้วนำมาขายให้บุคคลอื่นได้ใช้บริโภค อาจเกิดความขาดแคลนด้านอาหาร


วิเคราะห์วิจารณ์ ของ ทุกข์ของชาวนา

วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี
          
คุณค่าด้านภาษา
          กลวิธีการแต่ง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้  ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน  ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย  และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน  คือ
         - ส่วนนำ  กล่าวถึงบทกวีของ จิตร  ภูมิศักดิ์  ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ
         - เนื้อเรื่อง วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  และของหลี่เชิน   โดยทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ 

        คุณค่าด้านสังคม
            สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงเริ่มต้นด้วยการยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี 11 จำนวน 5 บท  มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนทุกชนชั้น  พระองค์ทรงเห็นด้วยกับบทกวีนี้และยังทรงกล่าวอีกว่าเนื้อหาบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  สอดคล้องกับบทวีของหลี่เชิน กวีชาวจีนที่แต่งไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง  แสดงให้เห็นว่าสภาพชีวิตองชาวนาไม่ว่าที่แห่งใดในโลกจะเป็นไทยหรือจีน  จะเป็นสมัยใดก็ตาม  ล้วนแล้วแต่มีความยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียวกัน